วันพฤหัสบดีที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2556

ข่าวไอที



Shin Jong-kyun หรือที่เรารู้จักกันในนาม JK Shin ซีอีโอของซัมซุงได้ให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์ Korea Times ถึงสมาร์ทโฟนรุ่นถัดไปในปี 2014 ของพวกเขาจะมาพร้อมกับชิปประมวลผลแบบ 64-bit ด้วยเช่นกันแต่คงไม่ใช่เร็วๆนี้ นั่นเป็นเพราะซัมซุงน่าจะคำนึงถึงความเข้ากันได้ของแอพพลิเคชั่นในปัจจุบันที่ยังรองรับการประมวลผลแบบ 32-bit อยู่เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งการหันไปใช้ชิปประมวลในแบบ 64-bit ในทันทีจึงเป็นเรื่องที่ยังไม่เหมาะสมในตอนนี้
นอกจากนี้ชิปแบบ 64-bit ยังจำเป็นต้องใช้แรมที่มากกว่า 4GB โดยตอนนี้สมาร์ทโฟนซัมซุงที่มีแรมมากที่สุดคือ Galaxy Note 3 แต่ก็มีแรมแค่ 3GB เท่านั้น ฉะนั้นจึงเป็นที่น่าคิดว่าสมาร์ทโฟนรุ่นหน้าของซัมซุงพร้อมชิปประมวลผลแบบ 64-bit จะพัฒนาแรมให้สามารถรองรับเทคโนโลยีดังกล่าวได้ดีแค่ไหน และจนถึงวันนั้นนักพัฒนาน่าจะพัฒนาแอพพลิเคชั่นให้ใช้งานได้ทั้งแบบ 32-bit กับ 64-bit แล้วด้วยเช่นกัน

เพลงที่ชอบ


เพลง  เข้าใจแต่ไม่รู้สึก

ชอบเพราะ  ฟังแล้ว ทำให้เรานึกถึงใครบางคนที่อยู่ในความทรงจำของเรา

 คำว่ารักฟังเข้าใจแต่มันไม่รู้สึก
มันไม่นึกถึงคนรักกัน
บอกไม่ถูกมันเหมือนไม่มีความหมาย
คำว่ารักจากปากคนที่มันไม่มีใจ
มันก็เหมือนแค่ลมพัดไป
บอกไม่รักยังรู้สึกดีกว่าเลย

วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Moore's law คืออะไร

              
        กฏของมัวร์ หรือ Moore's   law  คือ กฏที่อธิบายแนวโน้มของการพัฒนาฮาร์ดแวร์ของคอมพิวเตอร์ในระยะยาว มีความว่า จํานวนทรานซิสเตอร์ที่สามารถบรรจุลงในชิพจะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า ในทุกๆสองปี  Gordon E. Moore ผู้ก่อตั้ง Intel  ซึ้งได้อธิบายแนวโน้มไว้ในรายงานของเขาในปี1965 จึงพบว่ากฎนี้แม่นยํา อาจเกิดขึ้นเนื่องจาก อุตสาหกรรม semiconductor  นํากฎนี้ไปเป็นเป้าหมายในการวางแผน พัฒนาอุตสาหกรรมได้ moore's law เป็น ปริมาณของทรานซิสเตอร์บนวงจรรวมจำนวนของ ทรานซิสเตอร์ ต่อตารางนิ้วบน แผงวงจรรวม มีสองเท่าทุกปีตั้งแต่วงจรรวมถูกคิดค้นMoore predicted that this trend would continue for the foreseeable future. มัวร์ที่คาดการณ์ว่าแนวโน้มจะดำเนินต่อไปในอนาคตอันใกล้ ในปีถัดไปการก้าวชะลอตัวลงเล็กน้อย แต่ความหนาแน่นของข้อมูลได้เท่าประมาณทุก 18 เดือน

                   กอร์ดอน มัวร์ เป็นผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทอินเทล ได้ใช้หลักการสังเกตตั้งกฎของมัวร์(Moore’s law) ขึ้น  ซึ่งเขาบันทึกไว้ว่า ปริมาณของทรานซิสเตอร์บนวงจรรวม



กฎของมัวร์ (Moore's Law)   

            ในปี .2490 วิลเลียมชอคเลย์และกลุ่มเพื่อนนักวิจัยที่สถาบัน เบลแล็ป ได้คิดค้นสิ่งที่สำคัญและเป็นประโยชน์ต่อชาวโลกมาก เป็นการเริ่มต้นก้าวเข้าสู่ยุคอิเล็กทรอนิคส์ที่เรียกว่า โซลิดสเตทเขาได้ตั้งชื่อสิ่งทีประดิษฐ์ขึ้นมาว่า "ทรานซิสเตอร์แนวคิดในขณะนั้นต้องการควบคุมการไหลของกระแสไฟฟ้า ซึ่งสามารถทำได้ดีด้วยหลอดสูญญากาศแต่หลอดมี ขนาดใหญ่เทอะทะใช้กำลังงานไฟฟ้ามากทรานซิสเตอร์จึงเป็นอุปกรณ์ที่นำมาแทนหลอดสูญญากาศได้เป็นอย่างดีทำให้เกิดอุตสาหกรรมสาร กึ่งตัวนำตามมา และก้าวหน้าขึ้นเป็นลำดับ
            .2508 อุตสาหกรรมผลิตอุปกรณ์สารกึ่งตัวได้แพร่หลาย มีบริษัทผู้ผลิตทรานซิสเตอร์จำนวนมากการประยุกต์ใช้งานวงจรอิเล็กทรอนิกส์  กว้างขวางขึ้น มีการนำมาใช้ในเครื่องจักร อุปกรณ์ต่าง  ตั้งแต่ของใช้ในบ้าน จึงถึงในโรงงานอุตสาหกรรม
            การสร้างทรานซิสเตอร์มีพัฒนาการมาอย่างต่อเนื่อง บริษัท แฟร์ซายด์ เซมิคอนดัคเตอร์เป็นบริษัทแรกที่เริ่มใช้เทคโนโลยีการผลิต ทรานซิสเตอร์แบบ    planar หรือเจือสารเข้าทางแนวราบเทคโนโลยีแบบของการสร้างไอซีในเวลาต่อมา จากหลักฐาน พบว่า บริษัทแฟร์ซายด์ได้ผลิตพลาน่าทรานซิสเตอร์ตั้งแต่ประมาณปี .2502 และบริษัทเท็กซัสอินสตรูเมนต์ได้ผลิตไอซีได้ในเวลาต่อมา และกอร์ดอนมัวร์กล่าวไว้ว่า จุดเริ่มต้นของกฎของมัวร์เริ่มต้นจากการเริ่มมีพลาน่าทรานซิสเตอร์
             คําว่า กฎของมัวร์” นั้นถูกเรียกโดยศาสตราจารย์   Caltech   นามว่า    Carver Mead
ซึ่งกล่าวว่าจํานวนทรานซิสเตอร์จะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าในทุกๆหนึ่งปี ในช่วงปี 1965  ต่อมามัวร์จึงได้
เปลี่ยนรูปกฎ เพิ่ขึ้นสองเท่าในทุกๆสองปี ในปี 1975

ที่มา http://bc101k.blogspot.com/2011/07/moores-law.html

วันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

รหัส ASCII , Unicode

รหัส ASCII , Unicode



















แอสกี หรือ รหัสมาตรฐานของสหรัฐอเมริกาเพื่อการแลกเปลี่ยนสารสนเทศ  (อังกฤษASCII: American Standard Code for Information Interchangeเป็นรหัสอักขระที่ประกอบด้วยอักษรละติน เลขอารบิก เครื่องหมายวรรคตอน และสัญลักษณ์ต่างๆ โดยแต่ละรหัสจะแทนด้วยตัวอักขระหนึ่งตัว เช่น รหัส 65 (เลขฐานสิบ) ใช้แทนอักษรเอ (A) พิมพ์ใหญ่ เป็นต้น


รหัสแอสกีมีใช้ในระบบคอมพิวเตอร์ และเครื่องมือสื่อสารแบบดิจิทัลต่างๆ พัฒนาขึ้นโดยคณะกรรมการ X3 ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของสมาคมมาตรฐานอเมริกา (American Standards Association) ภายหลังกลายเป็น สถาบันมาตรฐานแห่งชาติอเมริกา (American National Standard Institute : ANSI) ในปี ค.ศ. 1969 โดยเริ่มต้นใช้ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1967 ซึ่งมีอักขระทั้งหมด 128 ตัว (7 บิต) โดยจะมี 33 ตัวที่ไม่แสดงผล (unprintable/control character) ซึ่งใช้สำหรับควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์บางประการ เช่น การขึ้นย่อหน้าใหม่สำหรับการพิมพ์ (CR & LF - carriage return and line feed) การสิ้นสุดการประมวลผลข้อมูลตัวอักษร (ETX - end of text) เป็นต้น และ อีก 95 ตัวที่แสดงผลได้ (printable character) ดังที่ปรากฏตามผังอักขระ (character map) ด้านล่าง
รหัสแอสกีได้รับการปรับปรุงล่าสุดเมื่อ ค.ศ. 1986 ให้มีอักขระทั้งหมด 256 ตัว (8 บิต) และเรียกใหม่ว่าแอสกีแบบขยาย อักขระที่เพิ่มมา 128 ตัวใช้สำหรับแสดงอักขระเพิ่มเติมในภาษาของแต่ละท้องถิ่นที่ใช้ เช่นภาษาเยอรมัน ภาษารัสเซีย ฯลฯ โดยจะมีผังอักขระที่แตกต่างกันไปในแต่ละภาษาซึ่งเรียกว่า โคดเพจ (codepage) โดยอักขระ 128 ตัวแรกส่วนใหญ่จะยังคงเหมือนกันแทบทุกโคดเพจ มีส่วนน้อยที่เปลี่ยนแค่บางอักขระ

ฐานสองฐาน
สิบ
ฐาน
สิบหก
อักขระความหมาย
0000 0000000(ว่าง)NUL - null character
0000 0001101SOH - start of heading
0000 0010202STX - start of text
0000 0011303ETX - end of text
0000 0100404EOT - end of transmission
0000 0101505ENQ - enquiry
0000 0110606ACK - acknowledge
0000 0111707BEL - bell
0000 1000808BS - backspace
0000 1001909HT - horizontal tabulation
0000 1010100ALF - line feed
0000 1011110BVT - vertical tabulation
0000 1100120CFF - form feed
0000 1101130DCR - carriage return
0000 1110140ESO - shift out
0000 1111150FSI - shift in

           แหล่งที่มา
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%81%E0%B%AD%0%B8%AA%E0%B8%81%E0%B8%B5



ยูนิโคด (อังกฤษ: Unicode) คือมาตรฐานอุตสาหกรรมที่ช่วยให้คอมพิวเตอร์แสดงผลและจัดการข้อความธรรมดาที่ใช้ในระบบการเขียนของภาษาส่วนใหญ่ในโลกได้อย่างสอดคล้องกัน ยูนิโคดประกอบด้วยรายการอักขระที่แสดงผลได้มากกว่า 100,000 ตัว พัฒนาต่อยอดมาจากมาตรฐานชุดอักขระสากล (Universal Character Set: UCS) และมีการตีพิมพ์ลงในหนังสือ The Unicode Standard เป็นแผนผังรหัสเพื่อใช้เป็นรายการอ้างอิง นอกจากนั้นยังมีการอธิบายวิธีการที่ใช้เข้ารหัสและการนำเสนอมาตรฐานของการเข้ารหัสอักขระอีกจำนวนหนึ่ง การเรียงลำดับอักษร กฎเกณฑ์ของการรวมและการแยกอักขระ รวมไปถึงลำดับการแสดงผลของอักขระสองทิศทาง (เช่นอักษรอาหรับหรืออักษรฮีบรูที่เขียนจากขวาไปซ้าย) [1]
ยูนิโคดคอนซอร์เทียม (Unicode Consortium) ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร เป็นผู้รับผิดชอบในการพัฒนายูนิโคด องค์กรนี้มีจุดมุ่งหมายเกี่ยวกับการแทนที่การเข้ารหัสอักขระที่มีอยู่ด้วยยูนิโคดและมาตรฐานรูปแบบการแปลงยูนิโคด (Unicode Transformation Format: UTF) แต่ก็เป็นที่ยุ่งยากเนื่องจากแผนการที่มีอยู่ถูกจำกัดไว้ด้วยขนาดและขอบเขต ซึ่งอาจไม่รองรับกับสภาพแวดล้อมหลายภาษาในคอมพิวเตอร์
ความสำเร็จของยูนิโคดคือการรวมรหัสอักขระหลายชนิดให้เป็นหนึ่งเดียว นำไปสู่การใช้งานอย่างกว้างขวางและมีอิทธิพลต่อการแปลภาษาของซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ นั่นคือโปรแกรมจะสามารถใช้ได้หลายภาษา มาตรฐานนี้มีการนำไปใช้เป็นเทคโนโลยีหลักหลายอย่าง อาทิ เอกซ์เอ็มแอล ภาษาจาวา ดอตเน็ตเฟรมเวิร์กและระบบปฏิบัติการสมัยใหม่
ยูนิโคดสามารถนำไปใช้งานได้ด้วยชุดอักขระแบบต่าง ๆ ชุดอักขระที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดคือ UTF-8 (ใช้ 1 ไบต์สำหรับอักขระทุกตัวในรหัสแอสกีและมีค่ารหัสเหมือนกับมาตรฐานแอสกี หรือมากกว่านั้นจนถึง 4 ไบต์สำหรับอักขระแบบอื่น) UCS-2 ซึ่งปัจจุบันเลิกใช้แล้ว (ใช้ 2 ไบต์สำหรับอักขระทุกตัว แต่ไม่ครอบคลุมอักขระทั้งหมดในยูนิโคด) และ UTF-16 (เป็นส่วนขยายจาก UCS-2 โดยใช้ 4 ไบต์สำหรับแทนรหัสอักขระที่ขาดไปของ UCS-2)
 
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------
APIWAT  KEEREERATTANARAK

A 0100 0001                   K 0100 1011
P 0101 0000                   E 0100 0101
I 0100 1001                   E 0100 0101
W 0101 0001                  R 0101 0010
A 0100 0100                   E 0100 0101
T 0101 0100                   E 0100 0101
                                    R 0101 0010
                                    A 0100 0001 
                                    T 0101 0100
                                    T 0101 0100
                                    A 0100 0001
                                    N 0100 1110
                                    A 0100 0001
                                    R 0101 0010
                                    A 0100 0001
                                    K 0100 1011
มีพื้นที่จัดเก็บดังนี้  22 ไบต์ 176 บิต

แบบทดสอบ

คลิกที่นี้

วันพฤหัสบดีที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

แบบทดสอบ เรื่อง การทำงานภายในระบบคอมพิวเตอร์

>>>>>>คลิกที่นี้<<<<<<<

บิตตรวจสอบ(Parity Bit)

บิตตรวจสอบ(Parity Bit)

    ถึงแม้เลขฐานสองที่ใช้ในคอมพิวเตอร์มีอัตราความผิดผลาดต่ำ เพราะมีความเป็นไปได้เพียง 0 หรือ 1 เท่านั้นแต่ก็อาจเกิดข้อบกพร่องขึ้นได้ภายในหน่วยความจำดังนั้น บิตตรวจสอบหรือ Parity Bit จึงเป็นบิตที่เพิ่มเติมเข้ามาต่อท้ายอีก 1 บิต ซึ่่งถือเป็นบิตพิเศษที่ใช้สำหรับการตรวจสอบที่แม่นยำและความถูกต้องของข้อมูล ที่จะถูกเก็บลงในคอมพิวเตอร์
                       
    สำหรับบิตที่ตรวจสอบจะมีวิธีการตรวจสอบอยู่ด้วยกัน 2 วิธีด้วยกันคือ 
1.การตรวจสอบบิตภาวะคู่ (Even Parity)
    -จะมีค่าเป็น 1 เมื่อจำนวนของเลข 1 ในข้อมูลเป็นจำนวนคี่ (ซึ่งจะทำให้จำนวนเลข 1 ทั้งหมดเป็นจำนวนคู่ เมื่อรวมกับบิตนี้)
2.การตรวจสอบบิตภาวะคี่ (Odd Parity)
    - จะมีค่าเป็น 1 เมื่อจำนวนของเลข 1 ในข้อมูลเป็นจำนวนคู่ (ซึ่งจะทำให้จำนวนเลข 1 ทั้งหมดเป็นจำนวนคี่ เมื่อรวมกับบิตนี้) 

ถ้าพิจารณาถึงจำนวน  256   สัญลักษณ์ที่ใช้ในรหัส  ASCII  และ  EBCDIC  นั้นก็ดูพอเพียงต่อการใช้งานภาษาอังกฤษ และ ภาษาใดๆ อีกภาษาหนึงแต่ในกรณีที่ต้องการใช้แทนอักษรของชาติอื่นๆทั่วโลกก็คงไม่พอเพียงต่อการใช้งาน ดังนั้น รหัส Unicode ชึ่งมีขนาด 16 บิตนี้จึงเป็นทางเลือกเพื่อใช้แทนค่าข้อมูล ชึ่งสามารถแทนค่าข้อมูลได้มากถึง 65,536 สัญลักษณ์

วันพฤหัสบดีที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ใบงานที่ 1 ประวัติคอมพิวเตอร์ ข้อ 1

บุคคลสำคัญทางคอมพิวเตอร์



Dr. John V. Atanasoff

ดร. จอห์น วี. อะทานาซอฟฟ์

(1903-1995 )

ผลงานเด่น : ABC ,คอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์เครื่องแรก
จอห์น วี. อะทานาซอฟฟ์ (John V. Atanasoff) เกิดเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม ค.ศ.1903 ที่เมืองนิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา ท่านเป็นผู้ประดิษฐ์เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ไฟฟ้าเป็นคนแรก คือเครื่อง ABC เมื่อปี ค.ศ. 1937 (ก่อนหน้านี้เป็นคอมพิวเตอร์แบบเครื่องจักรกล) ในขณะนั้นเขาอาจไม่รู้ว่าผลงานของเขาจะมีบทบาทต่อชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ ในอนาคตมากมายขนาดนี้ เขาได้เปิดประตููสู่ยุคคอมพิวเตอร์ีให้กับคนรุ่นหลังได้พัฒนาต่อยอดมาจนกลายเป็น คอมพิวเตอร์ในปัจุบัน

ท่านเสียชีวิตเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 1995





Charles Babbage
ชาร์ลส์ แบบเบจ

บิดาแห่งคอมพิวเตอร์

(1791-1871)

ผลงาน : เครื่องคำนวณหาผลต่าง differential machine และเครื่องวิเคราะห์ analytical machine
Charles Babbage (26 ธันวาคม 1791 – 18 ตุลาคม 1871) เขาเป็นนักคณิตศาสตร์ นักปรัชญาวิเคราะห์ และเป็นนักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ เนื่องจากเขาเป็นคนแรก ที่มีแนวคิดเรื่องเครื่องคำนวณที่สามารถโปรแกรมหรือสั่งให้ทำงานได้ เครื่องในจินตนาการของเขายังไม่เสร็จสมบูรณ์ เขาก็เสียชีวิตก่อนที่จะได้เห็นความฝันของเขาเป็นจริง ปัจุบันนี้ผลงานของเขาไว้ถูกเก็บและแสดงไว้ที่พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ลอนดอน ผลงานนั้นคือเครื่องคำนวณหาผลต่าง (Difference Engine) และเมื่อปี 1991 นี้เองที่เครื่องหาผลต่างนี้ถูกสร้างให้เสร็จสมบูรณ์ตามแบบที่ Babbage ได้ออกแบบไว้ แสดงให้เห็นว่าเครื่องจักรจากแนวคิดของเขาทำไงานได้จริงแล้ว

ชาร์ลส แบบเบจ (Charles Babbage) เกิดที่อังกฤษ ในครอบครัวของนายธนาคาร และเติบโตมาในยุคที่อังกฤษเป็นประเทศที่มีอำนาจ และกำลังอยู่ในช่วงการปฏิวัติอุตสาหกรรม โดยรัฐบาลให้การสนับสนุนทุนพัฒนาในสาขาต่างๆ อย่างเต็มที่ แบบเบจศึกษาระดับมหาวิทยาลัยที่ ทรินิตี้ คอลเลจ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ที่คณะคณิตศาสตร์ (Mathematical Laboratory)


ช่วงเป็นนักศึกษา เขารวมกลุ่มกับเพื่อน ทำ induction of the Leibnitz notation for the Calculus ขึ้นจนมีชื่อเสียง ทำให้มหาวิทยาลัยต้องเปลี่ยนหลักสูตรการเรียนการสอน พอเรียนจบ แบบเบจก็ตัดสินใจเป็นอาจารย์ต่อที่คณะ ในปี ค.ศ. 1814, แบบเบจสมรสกับ Geogiana Whitmore นักคณิตศาสตร์หญิงคนเก่งคนหนึ่งในยุคนั้น
ในทางคณิตศาสตร์ แบบเบจเน้นศึกษาด้านแคลคูลัสเป็นพิเศษ. ปี ค.ศ. 1816 ได้รับการแต่งตั้งให้เป็น Fellow ของ Royal Society ปี ค.ศ. 1820 เค้าตั้งชมรมด้านดาราศาสตร์ขึ้น พร้อมๆ กับเริ่มทำงานวิจัยสำคัญของเค้าในยุคต้น ที่ทำให้เค้าโด่งดังมากคือ Difference Engine (ใช้ Newton's method of successive differences) ในปี ค.ศ. 1828 แบบเบจได้รับแต่งตั้งให้เป็น the Lucasian Chair of Mathematics at Cambridge (เหมือนกับ เซอร์ ไอแซค นิวตัน และ สตีเฟ่น ฮอว์คิง) ต่อมา แบบเบจขยายงานมาศึกษาเครื่องวิเคราะห์ (Analytical Engine) เพื่อสร้างเป็น เครื่องจักรที่สามารถรองรับการคำนวณทุกชนิด (ซึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็นต้นแบบของเครื่องคอมพิวเตอร์) แต่ก็เป็นเพียงทฤษฏีเท่านั้น เพราะเค้าไม่สามารถสร้างออกมาในช่วงที่เค้ามีชีวิตอยู่ เนื่องจากมีคนไม่เห็นด้วยมากมาย เพราะความคิดเค้าทันสมัยเกินกว่าเทคโนโลยีในยุคนั้น จนทุกๆ คนคิดว่ามันเป็นไปไม่ได้ จึงโดนตัดงบวิจัยในปี ค.ศ. 1832 แต่แบบเบจก็ฝืนทำต่อแบบไม่มีงบ จนทำไม่ไหว จนต้องปิดโครงการนี้ไป ในปี ค.ศ. 1842

แบบเบจชอบไฟมาก ขนาดลองเอาเตาอบมาอบตัวเองเล่นที่ 265 องศาฟาเรนไฮด์เป็นเวลา 5-6 นาที หรือพยายามปีนภูเขาไฟเวเซเวียส (Mt. Vesevius) เพื่อที่จะไปดูลาวาเดือดๆ

เครื่องคำนวณหาผลต่างของ Babbage นี้ทำงานโดยอาศัยเครื่องจักรกล (สมัยนั้นยังไม่มีไฟฟ้าใช้) ประกอบด้วยฟันเฟืองหลาย ๆ ตัวเป็นตัวขับเคลื่อน เครื่องนี้ใช้ในการหาค่าของฟังก์ชันโพลิโนเมียล (Polynomial) ออกมาเป็นเป็นตาราง ซึ่งได้จากการวิเคราะห์ผลต่าง (สามารถหาค่าของฟังก์ชันลอการิทึม (logarithm function) และ ฟังก์ชันตรีโกณมิติ (Trigonometric function) ได้ด้วยเนื่องจากฟังชันก์ทั้งสองนี้สามารถประมาณค่าโดยฟังก์ชันโพลิโนเมียลได้)





Tim Berners-Lee

ทิม เบอร์เนอร์ส- ลี

ผลงาน : พัฒนาและส่งเสริมเทคโนโลยี เวิร์ล ไวด์ เว็บ (World Wide Web : www)

Tim Berners-Lee หรือ TBL เกิดเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 1955 เขาเป็นผู้ก่อตั้งเทคโนโลยี world wide web (www) หรือเรียกสั้น ๆ ว่าเว็บ (Web) ซึ่งเป็นโปรแกรมที่จัดระเบียบข้อมูลบนอินเตอร์เน็ตไว้เป็นหมวดหมู่ (บทเรียนที่ผู้เรียนกำลังเรียนอยู่นี้ก็เป็นเว็บครับ) ปัจจุบันนี้ (2005) Tim Berners-Lee เป็นผู้อำนวยการสมาคม World Wide Web Consortium หรือ W3C- http://www.w3.org สมาคมนี้มีขึ้นเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีเว็บให้มีศักยภาพสูงสุด ด้วยการตั้งข้อกำหนดมาตรฐานต่าง ๆ ให้คำแนะนำ พัฒนา เทคโนโลยีใหม่ ๆ โปรแกรม เครื่องมืออำนวยความสะดวกในการใช้เว็บเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนข้อมูลผ่านทางอินเตอร์เน็ต





Daniel Bricklin

แดน บริคลิน
เกิดปี 1951 ที่สหรัฐอเมริกา


ผลงาน: โปรแกรมตารางคำนวณวิสิแคลค์ Visicalc



แดเนียล บริคลิน (Dan Bricklin) เกิดเมื่อปี 1951 เขาได้รับปริญญาตรีสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ที่สถาบันเอ็มไอที (MIT) เมื่อปี 1973 และจากนั้นก็ได้ทำงานที่บริษัท DEC โดยทำงานด้านพัฒนาโปรแกรมประมวลผลข้อความ บริคลินได้เรียนต่อระดับปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เมื่อจบแล้วได้ก่อตั้งบริษัทร่วมกับเพื่อนคือ บ๊อบ แฟรงสตัน (Bob Frankston) ในปี 1979 ชื่อบริษัทคือ Software Art และนำโปรแกรมตารางคำนวณ Visicalc ออกสู่ตลาด ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างมาก นอกจากนี้เขาได้ตั้งบริษัทผลิตซอฟต์แวร์อื่น ๆ และให้คำปรึกษาด้านซอฟต์แวร์อีกด้วย




Vinton Cerf

วินตัน เซิร์ฟ




ผลงาน: โปรโตคอล TCP/IP



วินตัน เซิร์ฟ (Vinton Cerf) เรียนจบปริญญาตรีสาขาคณิตศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ปริญญาโทและปริญญาเอกสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ที่มหาวิทยาลัย UCLA เขาเป็นสมาชิกขององค์กร IEEE (นิยมอ่านว่า ไอ ทริปเปิ้ล อี) และ ACM

ผลงานที่สำคัญของวินตันนั้นเกี่ยวกับอินเตอร์เน็ต เขาได้ร่วมพัฒนารูปแบบการสื่อสารข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ ที่เรียกว่า โปรโตคอล TCP/IP





Seymour Cray
เซมัวร์ เครย์

เกิด ปี 1925 ที่วิสคอนซิน USA
เสียชีวิต ปี 1996 ที่โคโลราโด USA



ผลงาน: ซูเปอร์คอมพิวเตอร์เครย์ 1 (CRAY I)


ในปี 1972 เซมัวร์ เครย์เครย์ ได้ก่อตั้งบริษัท Cray Research เพื่อออกแบบและสร้างคอมพิวเตอร์ที่สมรรถนะสูงที่สุดในโลก ็คือ ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์พิเศษที่มีชิพไมโครโพรเซสเซอร์จำนวนมาก ช่วยกันประมวลผลข้อมูล ซึ่งทำให้คอมพิวเตอร์ชนิดนี้ทำงานได้เร็วกว่าคอมพิวเตอร์ทั่วไป เครื่องแรกของเขาชื่อเครื่องเครย์-1 สร้างสำเร็จในปี 1976 และเครื่องเครย์-2 ได้ถูกสร้างตามมาในปี 1985 ซึ่งเร็วขึ้น 10 เท่า






Edsger Wybe Dijkstra

เกิด วันที่ 11 พ.ค. 1930 ชาวเนเธอร์แลนด์
เสียชีวิต วันที่ 6 สิงหาคม 2002


ผลงาน : วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ (หนังสือชุด ศิลปะแห่งการเขียนโปรแกรม, อัลกอริธึม) การเข้ารหัสขอมูล


Edsger Wybe Dijkstra เกิดในเมืองรอตเตอร์ดาม ประเทศเนเธอร์แลนด์ ในปี 1930 ทุกคนในครอบครัวล้วนเป็นบุคคลผู้ทรงความรู้ บิดาเป็นนักเคมีและมารดาเป็นนักคณิตศาสตร์ ตอนอายุได้ 12 ขวบ ท่านก็ได้เข้าเรียนในโรงเรียนสำหรับเด็กที่มีปัญญายอดเยี่ยม ตอนอายุ 15 ปีท่านมีความคิดอยากจะเรียนกฎหมาย แต่ท่านได้คะแนนดีในวิชาเคมี คณิตศาสตร์ และฟิสิกส์ ท่านจึงตัดสินใจเรียนฟิสิกเชิงทฤษฎีส์ที่มหาวิทยาลัย Leiden ขณะที่เรียนท่านได้ทำงานพิเศษที่ศูนย์คณิตศาสตร์ในอัมส์เตอร์ดาม และนั่นเองที่เป็นจุดเริ่มต้นที่ท่านสนใจในการเขียนโปรแกรม ทันที่ที่เรียนจบท่านก็อยากจะทำในสิ่งที่ท่านอยากทำคือเขียนโปรแกรม แต่การเขียนโปรแกรมยังไม่เป็นที่นิยมและชื่นชมในสมัยนั้น ท่านจึงยอมเป็นศาสตราจารย์ด้านฟิสิกส์เชิงทฤษฎี อย่างไรก็ตามท่านก็ไม่ได้ทิ้งงานที่ศูนย์คณิตศาสตร์ จนกระทั่งท่านได้ทำงานที่บริษัท Burroughs ในสหรัฐอเมริกา ท่านได้รับรางวัล ACM Turing Award ในปี ค.ศ. 1972 ซึ่งเป็นรางวัลสูงสุดของบุคคลในวงการคอมพิวเตอร์ และท่านได้เป็นศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยเท็กซัสในปี 1984

ในปี 1956 ท่านได้คิดอัลกอริทึมหรือวิธีการหาระยะทางที่สั้นที่สุดหรือดีที่สุด "shortest-path algorithm" อัลกอริทึมนี้ช่วยในการหาเส้นทางที่ดีที่สุดในการเดินทางระหว่างสองจุดหรือสองที่ ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้หลายงานเช่น การออกแบบวงจรไฟฟ้าให้ใช้สายทองแดงสั้นที่สุด และด้วยวิธีนี้เองทำให้วิศวกรสร้างคอมพิวเตอร์ ARMAC ในเวลาต่อมา สายทองแดงสั้น นั่นหมายถึงระยะเวลาในการส่งสัญญาณไฟฟ้าสั้นลงด้วย ภายหลังแนวความคิดนี้ได้ถูกนำไปใช้กับการออกแบบวงจรภายในหน่วยประมวลผลและหน่วยความจำ เพื่อเพิ่มความเร็วในการสื่อสารข้อมูลภายในคอมพิวเตอร์เอง หรือแม้แต่ในการส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่ายซึ่งต้องหาเส้นทางเพื่อที่จะส่งข้อมูลได้เร็วที่สุดเช่นกัน




Bill Gates

บิล เกตส์


เกิดวันที่ 20 ตุลาคม 1955

ผลงานของบิลเกตส์ และบริษัทไมโครซอฟต์: ภาษาเบสิค ระบบปฏิบัติการดอส (DOS) ระบบปฏิบัิตการวินโดวส์ (Windows)


บิล เกตส์ (Bill Gates) เกิดเมื่อปี 1955 ที่เมืองซีแอทเทิล กรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา เขาเป็นที่รู้จักดีในฐานะผู้ก่อตั้งบริษัทผลิตซอฟต์แวร์ที่ครองตลาดผู้ใช้มากที่สุดคือบริษัทไมโครซอฟต์ และเป็นหนึ่งบุคคลที่รวยที่สุดในโลก ปัจจุบันเขาเป็นหัวหน้าบริษัท ซึ่งเขาได้ร่วมกับพอล อัลเลน (Paul Allen) ก่อตั้งบริษัทไมโครซอฟต์ขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1974 ด้วยวัยเพียง 19 ปี แต่พอล อัลเลนได้ออกไปทำธุรกิจของตนเองเมื่อปี 1983

การประสบความสำเร็จยังยิ่งใหญ่ของบริษัทไมโครซอฟต์ มาจากการใช้ไมโครคอมพิวเตอร์อย่างแพร่หลายและบริษัทได้ผลิตซอฟต์แวร์เพื่ออำนวยความสะดวกการใช้งานไมโครคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะ (ดังชื่อบริษัท "Microsoft" มาจากคำว่า "microcomputer" + "software") เช่น ระบบปฏิบัติการ MS-DOS และ Windows รุ่นต่าง ๆ โปรแกรมเว็บราวเซอร์ IE (Internet Explorer) ภาษาเบสิค รวมถึงภาษา VB (Visual Basic) และอื่น ๆ อีกมากมาย




Grace Murray Hopper
เกรซ มัวเรย์ ฮอปเปอร์

เกิด: นิวยอร์ค เมื่อ 9 ธันวาคม1906
เสียชีวิต : เวอร์จิเนีย เมื่อ 1มกราคม 1992

ผลงาน : ภาษาโคบอล (COBOL : Common Business-Oriented Language)



เกรซ มัวเรย์ ฮอปเปอร์ (1906-1992) เป็นเจ้าหน้าที่ทหารเรือสหรัฐ นักคณิตศาสตร์ และเป็นผู้บุกเบิกการประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ เธอเกิดที่เมืองนิวยอร์ค และเรียนที่มหาวิทยาลัยเยล ทั้งบิดาและมารดาของเธอเป็นแรงผลักดันที่สำคัญ ทั้งคู่์ชอบวิชาคณิตศาสตร์และได้ส่งเสริมและสอนฮอปเปอร์เช่นเดียวกัน ฮอปเปอร์ใช้เวลาครึ่งศตวรรษในการทำงานอันยิ่งใหญ่คือช่วยสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี เธอได้รับมอบหมายให้เป็นนักเขียนโปรแกรมสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ Mark I (มาร์ค-วัน) ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่เครื่องแรกของสหรัฐและยังเป็นคอมพิวเตอร์จักรกล แต่ผลงานที่น่าจดจำของเธอคือสร้างคอมไพเลอร์ (โปรแกรมแปลภาษาคล้ายที่มนุษย์ใช้ไปเป็นภาษาเครื่องที่คอมพิวเตอร์เข้าใจ) ครั้งแรกในปี 1952 ในขณะที่เธอทำงานที่บริษัท Eckert-Mauchly Computer จากนั้นเธอได้ร่วมมือกับผู้ร่วมงานคนอื่น ๆ สร้างภาษาสำหรับคำนวณเชิงธุรกิจภาษาแรกคือ ภาษาโคบอล (COBOL: Common Business-Oriented Language) ที่ใช้ในเครื่อง UNIVAC ภาษานี้นับว่าเป็นสะพานเชื่อมระหว่างความต้องการของนักธุกิจกับนักเขียนโปรแกรม




Steven Paul Jobs

สตีฟเวน พอล จ๊อบส์

เกิดวันที่ 24 ก.พ. 1955



ผลงาน: ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทแอปเปิ้ลคอมพิวเตอร์


สตีฟเวน พอล จ๊อบส์ (Steven Paul Jobs) เป็นที่รู้จักในฐานะผู้ร่วมก่อตั้ง (ร่วมกับ Steve Wozniak) บริษัทแอปเปิ้ลคอมพิวเตอร์ (Apple Computer) นอกจากนี้เขาเป็นหัวหน้าบริษัท Pixar ซึ่งเป็นบริษัทสร้างภาพการ์ตูนเคลื่อนไหว (เช่น ภาพยนตร์แอนนิเมชันเรื่อง Monster Ink, Shark Tale)

แต่สิ่งสำคัญต่อวงการคอมพิวเตอร์ที่เขาได้บุกเบิกคือการสร้างคอมพิวเตอร์แอบเปิ้ล 2 (Apple II) เขาได้เล็งเห็นถึงศักยภาพของการสั่งงานคอมพิวเตอร์ผ่านทางภาพ หรือ GUI (graphic user interface)ด้วยการใช้เมาส์ ซึ่งได้มีการใช้ครั้งแรกที่บริษัท Xerox PARC




Gary Kildall

แกรี่ คิลดัลล์

เสียชีวิตวันที่ 6 กรกฎาคม 1994


ผลงาน: ระบบปฏิบัติการ CP/M


ก่อนที่จะมีการพัฒนาคอมพิวเตอร์ไอบีเอ็มพีซีและระบบปฏิบัติการดอส (MS-DOS) นั้น คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเกือบทั้งหมดทำงานด้วยระบบปฏิบัติการ CP/M ซึ่งแกรี่ คิลดัลล์ (Gary Kildall) พัฒนาขึ้น แต่เขาไม่ได้ขายให้กับบริษัทแอปเปิ้ลคอมพิวเตอร์ จึงทำให้แอปเปิ้ลหันไปซื้อระบบปฏิบัติการดอส จากบิล เกตส์ (Bill Gates) แทน จึงทำให้คนส่วนใหญ่ลืมระบบปฏิบัติการ CP/M ไป




Dr. Donald E. Knuth

เกิด: 10 มกราคม 1938 ที่เมืองวิสคอนซิน สหรัฐอเมริกา

ผลงาน : เทคโนโลยีช่วยในการพิมพ์เอกสาร โดยเฉพาะ เอกสารทางวิชาการ





ดอกเตอร์ Donald E. Knuth ท่านเป็นนักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์และปัจจุบันเป็นศาสตราจารย์เกียรติคุณที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ท่านจบปริญญาตรีและปริญญาเอกสาขาคณิตศาสตร์ และสร้างผลงานต่อวิทยาการคอมพิวเตอร์มากมาย ท่านได้รับรางวัล Turing Award, รางวัล Grace Murray Hopper Award ได้รับเหรียญJohn von Neumann และรางวัลเกียวโต และในปี ค.ศ. 2003 ได้เข้าเป็นสมาชิกของวิทยาศาสตร์ราชสมาคม (Royal Society) แห่งสหราชอาณาจักร


ผลงานที่สำคัญของท่านคือ หนังสือในชุดศิลปะแห่งการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งแบ่งเป็น 7 เล่ม หลังจากที่เสร็จเล่มที่สาม ท่านไดสละเวลา้สร้างเครื่องมือช่วยในการพิมพ์คือ TeX (Latex) และ METAFONT ทำให้งานพิมพ์เป็นไปได้เร็วขึ้น ในปี 2004 ทั้งสามเล่มที่ได้เขียนไว้ได้ท่านได้นำมาปรับปรุงใหม่ และขณะนี้กำลังเขียนเล่มที่ 4 นอกจากนี้ท่านยังได้สอนที่มหาวอทยาลัยแสตนฟอร์ดเป็นครั้งคราว

TeX เป็นโปรแกรมช่วยในการพิมพ์โดยเฉพาะเอกสารวิชาการทางคณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ คอมพิวเตอร์ ที่ประกอบด้วยสูตร สมการ อักขระพิเศษต่าง ๆ โปรแกรมนี้ได้รับความนิยมมาก ถือเป็นต้นแบบของโปรแกรมประมวลผลคำ (word processing) ส่วน METAFONT เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ที่ Knuthใช้เขียนโปรแกรมสร้างโปรแกรม TeX




Ada Byron, Lady Lovelace

เอดา ไบรอน, เลดี้ เลิฟเลซ

(1816-1852)

ผลงานเด่น : แนวความคิดการเขียนโปรแกรม เรื่องการโปรแกรมแบบวนซ้ำ (loop) และการใช้โปรแกรมย่อย (subroutine)


เอดา เลิฟเลซ เป็นหนึ่งในบุคคลสำคัญของประวัติศาสตร์คอมพิวเตอร์ที่น่าเรียนรู้ชีวประวัติท่านเป็นอย่างยิ่ง ท่านเป็นผู้หญิงที่เก่งทั้งในด้านกาพย์กลอนและคณิตศาสตร์ และได้รับยกย่องให้เป็นนักเขียนโปรแกรมคนแรกของโลกจากผลงานที่ท่านช่วยให้เครื่องจักร analytical engine ที่ออกแบบโดย ชาร์ลส์ แบบเบจ สามารถรับโปรแกรมและทำงานตามคำสั่งในโปรแกรมได้ โดยท่านได้เสนอเทคนิคการเขียนโปรแกรมแบบวนรอบซ้ำ ๆ ที่เรียกว่า loop การเขียนโปรแกรมแบบวนรอบบนี้สำคัญมาก เพราะถ้าหากไม่ใช้แนวคิดนี้แล้วโปรแกรมที่เขียนจะมีความยาวมาก และผิดพลาดได้ง่ายและการใช้โปรแกรมย่อย (subroutine) เพื่อคำนวณฟังก์ชันก์ย่อยที่ได้ใช้งานบ่อย ๆ ฝังอยู่ในโปรแกรมหลัก โปรแกรมหลักสามารถเรียกใช้โปรแกรมย่อยทำงานได้เลยโดยไม่ต้องเขียนโปรแกรมใหม่ ซึ่งในปัจจุับนนี้ทุกภาษาต่างก็มีความสามารถในการวนซึ้า และการใช้โปรแกรมย่อย




Marvin Minsky

มาร์วิน มินสกี


เกิดวันที่ 9 สิงหาคม 1927

ผลงาน: ปัญญาประดิษฐ์ : โครงข่ายใยประสาทเทียม (aritfitial neuron network)



มาร์วิน ลี มินสกี (Marvin Lee Minsky) นักวิทยาศาสตร์สาขาปัญญาประดิษฐ์ชาวอเมริกา และยังเป็นผู้ร่วมก่อตั้งห้องปฏิบัติการ AI ที่สถาบันเอ็มไอที (MIT) เขาเกิดที่เมืองนิวยอร์ก เรียนจบปริญญาตรีสาขาคณิตศาสตร์จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดในปี 1950 จบปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยปริ๊นซ์ตันในปี 1954 ในสาขาเดียวกัน เขาได้รับรางวัล Turing Award ในปี 1970 รางวัล Japan Price ในปี 1990 และได้รับเหรียญเบญจามิน แฟรงคลินในปี 2001 จากผลงานอันสำคัญต่อวงการคอมพิวเตอร์ เช่น สร้างจอแสดงผลกราฟฟิก การสแกนด้วยไมโครสโคป และได้ร่วมกับ Seymour Papert พัฒนาภาษาโลโก ที่สำคัญคือเขาเป็นหนึ่งในผู้บุกเบิกศาสตร์ปัญญาประดิษฐ์คือ การเรียนรู้ของเครื่องจักรด้วยวิธีการโครงข่ายใยประสาทเทียม (artifitial neuron network) นอกจากนีีเขายังได้เป็นที่ปรึกษาการสร้างภาพยนตร์เรื่อง 'A Space Oddssey' ในปี 2001 อีกด้วย




John von Neumann
จอห์น วอน นอยแมน

เกิดวันที่ 23 ธันวาคม 1903 ที่เมืองบูดาเปสต์ ประเทศฮังการี
เสียชีวิต วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 1957 ที่สหรัฐอเมริกา


ผลงาน : สถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ แบบนอยแมน




จอห์น วอน นอยแมน (John von Neumann) เป็นนักคณิตศาสตร์ชาวอเมริกันเชื้อสายฮังการี มีผลงานสำคัญในหลายสาขา ทั้ง ควอนตัมฟิสิกส์, ทฤษฎีเซ็ต, วิทยาการคอมพิวเตอร์, เศรษฐศาสตร์
เขาเป็นบุตรชายคนโต ในพี่น้อง 3 คน เกิดที่เมืองบูดาเปส บิดาเป็นนักการธนาคาร นอยแมนมีชื่อเล่น ว่า "Jancsi" เขาเติบโตมาในครอบครัวชาวยิวที่ไม่เคร่งครัด และได้แสดงถึงความจำที่เป็นเลิศ มาตั้งแต่ยังเป็นเด็ก โดยสามารถทำการหารเลข 8 หลักในใจได้ตอนอายุ 6 ปี ในปี ค.ศ. 1911 ก็เข้าเรียนที่ Lutheran Gymnasium (ในประเทศเยอรมนี gymnasium หมายถึง โรงเรียนมัธยมปลาย) พอปี ค.ศ. 1913 เนื่องจากคุณพ่อของเขาได้รับตำแหน่ง (ยศ) เขาจึงได้รับชื่อเยอรมัน von จึงใช้ชื่อเต็มเป็น Janos von Neumann

เขาเรียนจบปริญญาเอกสาขาคณิตศาสตร์ จาก มหาวิทยาลัยบูดาเปสต์ ตอนอายุ 23 ปี

ระหว่างปี ค.ศ. 1926 ถึง 1930 เขาทำงานเป็นอาจารย์อิสระ อยู่ในกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี ในปี ค.ศ. 1930 นอยแมนได้รับเชิญจาก มหาวิทยาลัยปรินซตัน เขาเป็นหนึ่งในหกคน คือ (J W Alexander, A Einstein, M Morse, O Veblen, J von Neumann and H Weyl) ที่ได้รับเลือกให้เป็นอาจารย์ในสถาบันเพื่อการศึกษาขั้นสูง (Institute for Advanced Study) โดยเขาเป็นอาจารย์ในสาขาวิชาคณิตศาสตร์ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง นอยแมนได้มีส่วนร่วมใน โครงการแมนฮัตตัน (Manhattan Project) ซึ่งเป็นโครงการสร้างระเบิดปรมาณู

ช่วง ค.ศ. 1936 จนถึง 1938 อลัน ทัวริง ได้เป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนไปที่สถาบัน และเรียนจบปริญญาเอก โดยมีนอยแมนเป็นอาจารย์ที่ปรึกษา การไปเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนครั้งนี้ของทัวริง เกิดขึ้นหลักจากที่เขาได้ดีพิมพ์บทความวิชาการ "On Computable Numbers with an Application to the Entscheidungs-problem" ในปี ค.ศ. 1934

นอยแมนนั้น ได้รับการขนานนามว่าเป็น บิดาของทฤษฎีเกม เขาได้ตีพิมพ์หนังสือ Theory of Games and Economic Behavior โดยร่วมเขียนกับออสการ์ มอร์แกนสเติร์น (Oskar Morgenstern) ในปี ค.ศ. 1944 เขาได้คิดหลักการ "MAD" (mutually assured destruction) ซึ่งเป็นหลักการซึ่งใช้เป็นหลักสำคัญ ในการวางแผนกลยุทธ์ทางด้านอาวุธนิวเคลียร์ของอเมริกา ในช่วงสงครามเย็น

นอยแมนเป็นคนคิดสถาปัตยกรรมแบบ วอน นอยแมน ซึ่งใช้กันในคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ คอมพิวเตอร์เกือบทั้งหมดในโลกนี้ เป็นเครื่องจักรแบบ วอน นอยแมน เขาเป็นผู้ริเริ่มสาขา cellular automata และได้สร้างตัวอย่างชุดแรกของ selff-replicating automata โดยใช้แค่กระดาษกราฟ กับ ดินสอธรรมดาๆ คำว่าเครื่องจักรแบบ วอน นอยแมน ยังหมายความถึง เครื่องจักรที่สร้างตนเองซ้ำได้ (self-replicating machine).

นอยแมนได้พิสูจน์ว่า การใช้เครื่องจักรที่สร้างตนเองซ้ำได้ เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุด ในการทำเหมืองขนาดใหญ่มากๆ อย่างการทำเหมืองบนดวงจันทร์ หรือ แถบดาวเคราะห์น้อย เนื่องจากกลไกแบบนี้จะมีการเติบโตอย่างรวดเร็วมากแบบ exponential

นอยแมนนับเป็นบุคคลที่ฉลาดล้ำลึก และความจำที่เป็นเลิศเกือบจะเรียกได้ว่า จำได้ทุกอย่าง ในระดับรายละเอียดเลยก็ว่าได้ เขาเป็นคนชอบออกสังคมไม่เก็บตัว ชอบดื่มเหล้า, เต้นรำ, และ การเริงรมย์ เป็นคนสนุกสนาน และขบขัน เสียชีวิตที่กรุงวอชิงตันดีซี




Seymour Papert

เซย์มัวร์ ปาเปิร์ต

เกิดวันที่ 1 มีนาคม 1928 ที่แอฟริกาใต้




ผลงาน : ภาษาโลโก (LOGO) เพื่อให้เด็กเรียนรู้การเีขียนโปรแกรม



เซย์มัวร์ ปาเปิร์ต (Seymour Papert ) เป็นนักคณิตศาสตร์และนักการศึกษาที่สถาบันเอ็มไอที เขาเป็นหนึ่งในผู้บุกเบิกปัญญาประดิษฐ์โดยเสนอแนวคิดเรื่องความรู้ของเครื่องจักร และได้สร้างภาษาโลโกในปี 1968 ซึ่งเป็นภาษาที่เหมาะสำหรับเด็กในการฝึกหัดเขียนโปรแกรม โดยสามารถระดมสมอง ร่วมกันคิดเพื่อสร้างโปรแกรม เขายังคิดเพื่อการศึกษานั่นคือ การนำเอาแนวคิดการเรียนรู้ของ ฌอง เพียเจต์ (Jean Piaget) มาใช้ในโรงเรียนได้อย่างไร และได้เน้นผลกระทบของเทคโนโลยีในการเรียนรู้ทั้งในโรงเรียนและในชีวิตประจำวัน




Jonathan Bruce Postel

โจนาธาน บรูซ โพสเทล

เกิดวันที่ 6 สิงหาคม 1943, USA
เสียชีวิตวันที่ 16 ตุลาคม 1998 ที่ลอสแองเจิลลิส USA


ผลงาน : อินเตอร์เน็ต (internet)


โจนาธาน บรูซ โพสเทล (Jonathan Bruce Postel) เป็นบุคคลสำคัญในการสร้างมาตรฐานในการสื่อสารคอมพิวเตอร์ผ่านอินเตอร์เน็ตหลายอย่าง มาตรฐานต่าง ๆ เหล่านี้เขาได้เขียนไว้ในเอกสารชุด RFC เช่น โปรโตคอลหรือข้อตกลงในการสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต




Dennis Ritchie

เดนนิส ริทชี

เกิด วันที่ 9 กันยายน ค.ศ. 1941


ผลงาน : ภาษาซี (C programming language), ระบบปฏิบัติยูนิกซ์ (UNIX)


เดนนิส ริทชี(Dennis Ritchie) เกิดที่นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 9 กันยายน ค.ศ. 1941 เขาจบปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สาขาฟิสิกส์ และคณิตศาสตร์ประยุกต์ จากนั้นเขาได้ทำงานที่ศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์การคำนวณที่ Bell Lab ในปี 1967 ปัจจุบันนี้เขาเป็นหัวหน้าฝ่ายวิจัยที่ Lucent Technologies' System Software Research Department

ปี 1983 เขากับเค็น ทอมสัน (Ken Thomson) ได้รับรางวัล Turing Award ร่วมกัน ซึ่งเป็นรางวัลสูงสุดสำหรับนักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ผลงานที่ได้รับรางวัลคือทฤษฎีทั่วไปของระบบปฏิบัติการและการพัฒนาระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ ชื่อเล่นของเขาคือ DMR ซึ่งเขาใช้ชื่อนี้ในกลุ่มสื่อสารแลกเปลี่ยนความรู้ผ่านอินเตอร์เน็ต




Clive Sinclair

ไคลฟ์ ซินแคลร์


เกิดวันที่ 30 กรกฎาคม 1949

ผลงาน: ไมโครโพรเซสเซอร์ชุด ZX80 ซึ่งทำให้คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กลงและราคาต่ำลง ทำให้สามารถสร้างคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลได้



เกิดที่เมืองริชมอนด์ เขาสนใจเรื่องไฟฟ้ามาตั้งแต่เด็ก เขามีบริษัทชื่อ Sinclair Radionics ซึ่งประดิษฐ์อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ออกสู่ตลาด เช่น เครื่องคิดเลขขนาดประเป๋า นาฬิกาดิจิตอล และที่สำคัญคือไมโครโพรเซสเซอร์ชุด ZX80 ซึ่งถือว่าเล็กที่สุดในโลกขณะนั้น ซึ่งทำให้คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กลงและราคาต่ำลง จนสามารถสร้างคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปสามารถซื้อใช้ในบ้านหรือที่ทำงานได้ นั่นคือคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล




Richard Matthew Stallman

ริชาร์ด แมทธิว สตอลแมน

ชื่อเล่น RMS

เกิดวันที่ 16 มีนาคม 1953


ผลงาน : การพัฒนาซอฟต์แวร์แบบเปิดเผยรหัสโปรแกรม (open source software)


ริชาร์ด แมทธิว สตอลแมน (Richard Matthew Stallman) หรือ RMS เป็นผู้ริเริ่มการสร้างซอฟต์แวร์ฟรีและเปิดเผยรหัสโปรแกรม เขาก่อตั้งโครงการ GNU นอกจากนี้เรายังรู้จักเขาในนามแฮคเกอร์ นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ นักพูด และนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน สิขสิทธิ์ สิทธิบัตร และสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

เมื่อมีคำว่า copyright สตอลแมนก็ได้สร้างคำว่า copyleft ขึ้นมาเพื่อปกป้องแนวทางการพัฒนาซอฟต์แวร์แบบฟรีและเปิดเผยรหัสโปรแกรม คือ GNU General Public License (GPL)




Linus Torvalds

ไลนัส ทอร์วัลด์ส

เกิดวันที่ 28 ธันวาคม 1969 ที่กรุงเฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์

ผลงาน: ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ (Linux)


เมื่อปี 1991 ไลนัส ทอร์วัลด์ส ซึ่งขณะนั้นอายุ 21 ปี ได้เข้าเรียนวิทยาการคอมพิวเตอร์ ที่มหาวิทยาลัยเฮลซิงกิ หลังจากที่เพิ่งซื้อคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลมาใช้งาน เขาก็ไม่ชอบระบบปฏิบัติการ (OS: operating system) ที่มีมากับเครื่องซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการ MS-DOS (disk operating system ของบริษัทไมโครซอฟต์) เขาเองชอบระบบปฏิบัติการยูนิกซ์มากกว่าซึ่งเขาเคยใช้ในคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัย เขาตัดสินใจสร้างระบบปฏิบัติการขึ้นมาเองซึ่งคล้ายยูนิกซ์ แต่สามารถทำงานได้บนคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล เขาใช้เวลาหลายเดือนในการสร้างระบบปฏิบัติการนี้ขึ้นมา และตั้งชื่อว่าลีนุกซ์ (Linux) เขาได้เผยแพร่รหัสโปรแกรมของระบบปฏิบัติการนี้ให้นักเขียนโปรแกรมอื่น ๆ ได้ศึกษาและพัฒนาต่อ และ 8 ปีหลังจากนั้นเขาก็เป็นที่ชื่นชมจนได้รับยกย่องให้เป็นวีรบุรุษ เนื่องจากระบบปฏิบัติการลีนุกซ์นี้ทำให้บริษัทยักษ์ใหญ่ไมโครซอฟต์ต้องขยาดได้ ผู้ใช้หันมาใช้ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์แทนวินโดวส์มากขึ้นอย่างรวดเร็ว

ทอร์วัลด์ส เกิดเมื่อปี 1970 และเติบโตที่กรุงเฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์ เขาเริ่มเขียนโปรแกรมเล่นตั้งแต่อายุ 10 ขวบ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณปู่ ยี่ห้อ Commodore VIC-20 พอเขาเรียนระดับอุดมศึกษาเขาก็เห็นว่าเขามีความสามารถพอที่จะสร้างระบบปฏิบัติการขึ้นมาใช้สำหรับคอมพิวเตอร์ของเขาเองได้ และเขาก็ทำได้สำเร็จ เมื่อเขาพัฒนาลีนุกซ์เกือบสมบูรณ์เขาก็ได้แจ้งข่าวดีนี้ให้กับคนอื่น ๆ ที่มีคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลใช้งานให้ทราบผ่านข้อความบนอินเตอร์เน็ต พร้อมทั้งให้ดาวโหลดหรือคัดลอกไปใช้ได้ฟรี นอกจากนี้เขายังแสดงรหัสโปรแกรมที่เขาเขียนขึ้นให้ศึกษาด้วย นั่นหมายความว่า ทุกคนสามารถช่วยทอร์วัลด์สพัฒนาและ ปรับปรุงโปรแกรมให้ดีขึ้น ในปี 1999 มีคอมพิวเตอร์ที่ทำงานบนระบบปฏิบัติการลีนุกซ์กว่า 7 ล้านเครื่อง ซึ่งมีเพิ่มขึ้นทุกปีอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้บริษัทต่าง ๆ ที่ผลิตฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ต่าง ให้การสนับสนุนโดยพัฒนาสินค้าของตนให้ทำงานบนระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ได้ด้วย




Alan Mathison Turing
อลัน มาธิสัน ทัวริง

เกิด วันที่ 23 มิ.ย. 1912 ที่กรุงลอนดอน อังกฤษ
เสียชีวิต วันที่ 7 มิ.ย. 1954 ที่เมืองวิล์มสโล อังกฤษ


ผลงาน : ทฤษฎีความสามารถคำนวณได้ของคอมพิวเตอร์ (Computability) , การทดสอบความฉลาดของคอมพิวเตอร์ (Turing test), เครื่องจักรทัวริง (universal Turing machine)

อลัน ทัวริง (Alan Turing) คิดค้นเครื่องจักรทัวริง (Turing machine) เครื่องมือในฝันที่สามารถทำอะไรได้ทุกอย่าง ถ้าเพียงแต่เราจะใส่วิธีทำลงไป ซึ่งกลายเป็นต้นแบบแรกเริ่มของคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน ทัวริงแมชชีนเป็นเครื่องมือมหัศจรรย์ เพราะเป็นครั้งแรกที่เราแยก "อุปกรณ์" ออกจาก "ความสามารถของอุปกรณ์" นั้นได้ การทำงานของเครื่องไม่ได้ถูกกำหนดมาล่วงหน้า แต่ขึ้นอยู่กับวิธีทำหรืออัลกอริทึมที่แนบมาด้วย

เครื่องจักรทัวริงนั้นไม่้ยุ่งยาก ทำงานเป็นเหมือนเครื่องอ่านม้วนกระดาษยาวๆ (หรือเทป) ลองคิดดูว่าเรามีกระดาษเก็บข้อมูลยาวๆ ไม่สิ้นสุด บนกระดาษจะบันทึกเลขสองตัวคือ ศูนย์และหนึ่ง เช่น ...0011011000100... ทัวริงแมชชีนมีหัวอ่านค่าในกระดาษนี้ ที่บอกว่าตอนนี้กำลังอ่านเลขตัวไหนอยู่ตรงไหน และรู้ว่าตอนนี้อยู่ในสถานะใด (ทัวริงแมชชีนมีได้หลายสถานะ แล้วแต่ข้อมูลที่กำลังอ่านอยู่)




Larry Wall

แลรี่ วอลล์

ผลงาน : ภาษา Perl


แลรี่ วอลล์ (Larry Wall) เป็นนักเขียนโปรแกรมและนักภาษาศาสตร์ เขาสร้างภาษาสำหรับเขียนโปรแกรมเพิร์ล (Pearl) ในปี 1987 ซึ่งเป็นภาษาที่สามารถเขียนโปรแกรมจัดการกับชุดตัวอักษร หรือภาษาได้ดี เช่น โปรแกรมวิเคราะห์ลำดับเบสของสาย DNA




Stephen Wozniak

สตีเฟน วอซนิแอค


เกิดวันที่ 11 สิหาคม ปี 1950 ที่สหรัฐอเมริกา


ผลงาน: คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (personal computer : PC)


สตีเฟน วอซนิแอค (Stephen Wozniak) เป็นผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทแอปเปิ้ลคอมพิวเตอร์ ซึ่งผลิตคอมพิวเตอร์ยี่ห้อแอปเปิ้ล เขาได้รับสมญานามว่าเป็นผู้ริเริ่มการสร้างคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล เขาสามารถประดิษฐ์วิทยุเองตอนอายุ 11 ขวบ และประดิษฐ์คอมพิวเตอร์ของเขาเองเครื่องแรกสองปีหลังจากนั้น เขาชอบประดิษฐ์คอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นงานอดิเรกของเขา จนกระทั่งเขาพบกับสตีฟ จ๊อบส์ (Steve Jobs) และมีความเห็นตรงกันคือสร้างคอมพิวเตอร์ขายในราคาไม่แพงคงจะประสบความสำเร็จ เขาเปิดที่โรงรถที่บ้านของจ๊อบเป็นที่ออกแบบและสร้างคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลแม่แบบขึ้นมา และก่อตั้งบริษัทชื่อแอปเปิ้ลคอมพิวเตอร์ขึ้นในปี 1976 ความสามารถของคอมพิวเตอร์จากบริษัทแอปเปิ้ลคือแสดงผลภาพกราฟฟิกได้ความละเอียดภาพสูง และยังมีตัวอ่านแผ่นดิสก์แบบบาง (floppy disk) อีกด้วย นอกจากนี้เขากับเพื่อนยังสร้างซอฟต์แวร์สำหรับคอมพิวเตอร์แอปเปิ้ลโดยเฉพาะด้วย เช่น โปรแกรมวิสิแคลค์ จึงทำให้บริษัทประสบความสำเร็จอย่างสูงในช่วงนั้น


http://patiphut.blogspot.com/2010/01/blog-post_29.html

ใบงานที่ 1 ประวัติคอมพิวเตอร์ ข้อ2

ประวัติคอมพิวเตอร์

ประวัติคอมพิวเตอร์ โดยสังเขป ลำดับจากวิวัฒนาการได้ดังนี้
    - แรกเริ่มมนุษย์ดำเนินชีวิตโดยไม่มีการบันทึกสิ่งใด มาจนกระทั่งได้มีการติดต่อค้าขายของพ่อค้าชาวแบบีลอน(Babylonian) การจดบันทึกข้อมูลต่างๆ ลงบน clay tabletsจึงได้ถือกำเนิดขึ้น และอุปกรณ์ที่ช่วยในการคำนวนระหว่างการติดต่อซื้อขายก็ได้ถือกำเนิดขึ้นเช่นกัน อุปกรณ์คำนวณในยุคแรกได้แก่ ลูกคิด(abacus)ซึ่งก็ยังคงใช้กันต่อๆ มาจนถึงปัจจุบัน

ประวัติคอมพิวเตอร์
clay tablets (แผ่นดินเหนียว)


ประวัติคอมพิวเตอร์
ลูกคิด (abacus)


     - ประวัติคอมพิวเตอร์ ดำเนินมาถึง ปี พ.ศ. 2185 นักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ชื่อ Blaise Pascal (แบลส ปาสกาล) ได้สร้างเครื่องกลสำหรับการคำนวณชื่อ pascaline 

ประวัติคอมพิวเตอร์
Blaise Pascal

ประวัติคอมพิวเตอร์
เครื่องกลสำหรับการคำนวณชื่อ pascaline


    - ต่อมาในปี พ.ศ. 2215 เครื่องกล pascaline ของ Blaise Pasca ได้ถูกพัฒนาเพิ่มเติมโดยGottfried Von Leibniz นักคณิตศาสตร์ชาวเยอร์มันโดยเพิ่มสามารถในการ บวก ลบ คูณ หาร และถอดรากได้ แต่ก็ไม่มีผู้ใดทราบว่าเครื่อง pascaline ที่ถูกพัฒนาเพิ่มเติมเครื่องนี้มีความสามารถในการคำนวนแม่นยำเพียงใด


ประวัติคอมพิวเตอร์
Gottfried Von Leibniz


    - ปี พ.ศ. 2336 นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ Charles Babbage ได้สร้างจักรกลที่มีชื่อว่าdifference engine ที่มีฟังก์ชันทางตรีโกณมิติต่างๆ โดยอาศัยหลักการทางคณิตศาสตร์ และและต่อมาก็ได้สร้าง analytical engine ที่มีหลักคล้ายเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วไปในปัจจุบัน จากผลงานดังกล่าวCharles Babbage ถูกยกย่องว่าเป็นบิดาของคอมพิวเตอร์และเป็นผู้ริเริ่มวางรากฐานคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน

ประวัติคอมพิวเตอร์
Charles Babbage


ประวัติคอมพิวเตอร์
difference engine


ประวัติคอมพิวเตอร์
analytical engine


    - ปี พ.ศ. 2439 Herman Hollerith ได้คิดบัตรเจาะรูและเครื่องอ่านบัตร

ประวัติคอมพิวเตอร์
Herman Hollerith


ประวัติคอมพิวเตอร์
บัตรเจาะรู


    - จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2480 Howard Aiken สร้างเครื่องกล automatic calculating machine ขึ้น จุดประสงค์ของเครื่องกลชิ้นนี้ก็คือ เพื่อเชื่อมโยงเทคโนโลยีทั้งทาง electrical และ mechanical เข้ากับบัตรเจาะรูของ Hollerith และด้วยความช่วยเหลือของนักศึกษาปริญญาและวิศวกรรมของ IBM ทีมงานของ Howard ก็ประดิษฐ automatic calculating machine สำเร็จในปี พ.ศ. 2487 โดยใช้ชื่อว่า MARK I โดยการทำงานภายในตัวเครื่องจะถูกควบคุมอย่างอัตโนมัติด้วย electromagnetic relays และ arthmetic counters ซึ่งเป็น mechanical ดังนั้น MARK I จึงนับเป็น electromechanical computers

ประวัติคอมพิวเตอร์
Howard Aiken


ประวัติคอมพิวเตอร์
MARK I


    - และต่อมา Dr. John Vincent Atanasoff และ Clifford Berry ได้ประดิษฐเครื่อง ABC (Atanasoff-Berry Computer) โดยใช้ หลอดสูญญากาศ (vacuum tubes)

ประวัติคอมพิวเตอร์
เครื่อง ABC (Atanasoff-Berry Computer)


    - ปี พ.ศ. 2483 Dr.John W. Mauchy และ J. Presper Eckert Jr. ได้ร่วมกันพัฒนา electronic computer โดยอาศัยหลักการออกแบบบนพื้นฐานของ Dr. Atanasoff electronic computer เครื่องแรกมีชื่อว่าENIAC แม้จะเป็นelectronic computer แต่ENIACก็ยังไม่สามารถเก็บโปรแกรมได้(stored program) จึงได้มีการพัฒนาเป็นเครื่อง EDVAC ซึ่งอาศัยหลักการ stored program สมบูรณ์และได้มีการพัฒนาเป็นเครื่อง EDSAC และท้ายสุดก็ได้พัฒนาเป็นเครื่องUNIVAC(Universal Automatic Computer) ในเวลาต่อมา

ประวัติคอมพิวเตอร์
ENIAC


ประวัติคอมพิวเตอร์
EDVAC


ประวัติคอมพิวเตอร์
EDSAC


ประวัติคอมพิวเตอร์
UNIVAC


    ในท้ายที่สุด หากจะจำแนกประวัติคอมพิวเตอร์ตามยุคของคอมพิวเตอร์(Computer generations) โดยแบ่งตามเทคโนโลยีของตัวเครื่องและเทคโนโลยีการเก็บข้อมูล ก็สามารถจะจัดแบ่งตามวิวัฒนาการได้ 4 ยุคด้วยกัน คือ

    ยุคแรกเป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้เทคโนโลยีของหลอดสูญญากาศ และการเก็บข้อมูลเป็นแบบบัตรเจาะรู

    ยุคที่สอง เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้เทคโนโลยีของทรานซิสเตอร์ และการเก็บข้อมูลเป็นแบบเทป ลักษณะเป็นกรรมวิธีตามลำดับ(Sequential Processing)

    ยุคที่สาม เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้เทคโนโลยีของไอซี(integrated circuit, IC) และการเก็บข้อมูลเป็นแบบจานแม่เหล็ก ลักษณะเป็นการทำงานหลายโปรแกรมพร้อมกัน (Multiprogramming) และออนไลน์(on-line)

    ยุคที่สี่ เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้เทคโนโลยีของวงจรรวมขนาดใหญ่ (Large-scale integration, LSI) ของวรจรไฟฟ้า ผลงานจากเทคโนโลยีนี้คือ ไมโครโปรเซสเซอร์ (microprocessor ) กล่าวได้ว่าเป็น "Computer on a chip" ในยุคนี้

     จะเห็นได้ว่าวิวัฒนาการจากอดีตถึงปัจจุบัน คอมพิวเตอร์ได้ถูกพัฒนาต่อๆ กันมาอย่างรวดเร็วทำให้วิทยาการด้านคอมพิวเตอร์ มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา อาจกล่าวได้อีกว่าโลกของวิทยาการคอมพิวเตอร์นั้นมี การเคลื่อนไหวเสมอ(dynamics) แต่การรพัฒนาดังกล่าวกลับไม่ค่อยยืดหยุ่น(rigid)มากนัก เพราะหากเกิดความผิดพลาด ในกลไกเพียงเล็กน้อย บางครั้งก็อาจเป็นบ่อเกิดปัญหาที่ใหญ่โตมหาศาลได้ นอกจากนี้การพัฒนาคอมพิวเตอร์ยังนับได้ว่าเป็นโลกที่ควบคุมไม่ได้ หรือสามารถจัดการได้น้อย กล่าวคือ ทันทีที่คอมพิวเตอร์ทำงานด้วยโปรแกรม เครื่องก็ปฏิบัติงานไปตามโปรแกรมด้วยตนเอง และขณะที่เครื่องทำงานอยู่นั้นมนุษย์จะไม่สามารถควบคุมได้