วันศุกร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
Moore's law คืออะไร
กฏของมัวร์ หรือ Moore's law คือ กฏที่อธิบายแนวโน้มของการพัฒนาฮาร์ดแวร์ของคอมพิวเตอร์ในระยะยาว มีความว่า จํานวนทรานซิสเตอร์ที่สามารถบรรจุลงในชิพจะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า ในทุกๆสองปี Gordon E. Moore ผู้ก่อตั้ง Intel ซึ้งได้อธิบายแนวโน้มไว้ในรายงานของเขาในปี1965 จึงพบว่ากฎนี้แม่นยํา อาจเกิดขึ้นเนื่องจาก อุตสาหกรรม semiconductor นํากฎนี้ไปเป็นเป้าหมายในการวางแผน พัฒนาอุตสาหกรรมได้ moore's law เป็น ปริมาณของทรานซิสเตอร์บนวงจรรวมจำนวนของ ทรานซิสเตอร์ ต่อตารางนิ้วบน แผงวงจรรวม มีสองเท่าทุกปีตั้งแต่วงจรรวมถูกคิดค้นMoore predicted that this trend would continue for the foreseeable future. มัวร์ที่คาดการณ์ว่าแนวโน้มจะดำเนินต่อไปในอนาคตอันใกล้ ในปีถัดไป, การก้าวชะลอตัวลงเล็กน้อย แต่ความหนาแน่นของข้อมูลได้เท่าประมาณทุก 18 เดือน
กอร์ดอน มัวร์ เป็นผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทอินเทล ได้ใช้หลักการสังเกตตั้งกฎของมัวร์(Moore’s law) ขึ้น ซึ่งเขาบันทึกไว้ว่า ปริมาณของทรานซิสเตอร์บนวงจรรวม
กฎของมัวร์ (Moore's Law)
ในปี พ.ศ. 2490 วิลเลียมชอคเลย์และกลุ่มเพื่อนนักวิจัยที่สถาบัน เบลแล็ป ได้คิดค้นสิ่งที่สำคัญและเป็นประโยชน์ต่อชาวโลกมาก เป็นการเริ่มต้นก้าวเข้าสู่ยุคอิเล็กทรอนิคส์ที่เรียกว่า โซลิดสเตทเขาได้ตั้งชื่อสิ่งทีประดิษฐ์ขึ้นมาว่า "ทรานซิสเตอร์" แนวคิดในขณะนั้นต้องการควบคุมการไหลของกระแสไฟฟ้า ซึ่งสามารถทำได้ดีด้วยหลอดสูญญากาศแต่หลอดมี ขนาดใหญ่เทอะทะใช้กำลังงานไฟฟ้ามากทรานซิสเตอร์จึงเป็นอุปกรณ์ที่นำมาแทนหลอดสูญญากาศได้เป็นอย่างดีทำให้เกิดอุตสาหกรรมสาร กึ่งตัวนำตามมา และก้าวหน้าขึ้นเป็นลำดับ
พ.ศ. 2508 อุตสาหกรรมผลิตอุปกรณ์สารกึ่งตัวได้แพร่หลาย มีบริษัทผู้ผลิตทรานซิสเตอร์จำนวนมากการประยุกต์ใช้งานวงจรอิเล็กทรอนิกส์ กว้างขวางขึ้น มีการนำมาใช้ในเครื่องจักร อุปกรณ์ต่าง ๆ ตั้งแต่ของใช้ในบ้าน จึงถึงในโรงงานอุตสาหกรรม
การสร้างทรานซิสเตอร์มีพัฒนาการมาอย่างต่อเนื่อง บริษัท แฟร์ซายด์ เซมิคอนดัคเตอร์เป็นบริษัทแรกที่เริ่มใช้เทคโนโลยีการผลิต ทรานซิสเตอร์แบบ planar หรือเจือสารเข้าทางแนวราบเทคโนโลยีแบบของการสร้างไอซีในเวลาต่อมา จากหลักฐาน พบว่า บริษัทแฟร์ซายด์ได้ผลิตพลาน่าทรานซิสเตอร์ตั้งแต่ประมาณปี พ.ศ. 2502 และบริษัทเท็กซัสอินสตรูเมนต์ได้ผลิตไอซีได้ในเวลาต่อมา และกอร์ดอนมัวร์กล่าวไว้ว่า จุดเริ่มต้นของกฎของมัวร์เริ่มต้นจากการเริ่มมีพลาน่าทรานซิสเตอร์
คําว่า “กฎของมัวร์” นั้นถูกเรียกโดยศาสตราจารย์ Caltech นามว่า Carver Mead
ซึ่งกล่าวว่าจํานวนทรานซิสเตอร์จะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าในทุกๆหนึ่งปี ในช่วงปี 1965 ต่อมามัวร์จึงได้
เปลี่ยนรูปกฎ เพิ่ขึ้นสองเท่าในทุกๆสองปี ในปี 1975
ที่มา http://bc101k.blogspot.com/2011/07/moores-law.html
ที่มา http://bc101k.blogspot.com/2011/07/moores-law.html
วันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
รหัส ASCII , Unicode
รหัส ASCII , Unicode
แอสกี หรือ รหัสมาตรฐานของสหรัฐอเมริกาเพื่อการแลกเปลี่ยนสารสนเทศ (อังกฤษ: ASCII: American Standard Code for Information Interchange) เป็นรหัสอักขระที่ประกอบด้วยอักษรละติน เลขอารบิก เครื่องหมายวรรคตอน และสัญลักษณ์ต่างๆ โดยแต่ละรหัสจะแทนด้วยตัวอักขระหนึ่งตัว เช่น รหัส 65 (เลขฐานสิบ) ใช้แทนอักษรเอ (A) พิมพ์ใหญ่ เป็นต้น
รหัสแอสกีมีใช้ในระบบคอมพิวเตอร์ และเครื่องมือสื่อสารแบบดิจิทัลต่างๆ พัฒนาขึ้นโดยคณะกรรมการ X3 ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของสมาคมมาตรฐานอเมริกา (American Standards Association) ภายหลังกลายเป็น สถาบันมาตรฐานแห่งชาติอเมริกา (American National Standard Institute : ANSI) ในปี ค.ศ. 1969 โดยเริ่มต้นใช้ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1967 ซึ่งมีอักขระทั้งหมด 128 ตัว (7 บิต) โดยจะมี 33 ตัวที่ไม่แสดงผล (unprintable/control character) ซึ่งใช้สำหรับควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์บางประการ เช่น การขึ้นย่อหน้าใหม่สำหรับการพิมพ์ (CR & LF - carriage return and line feed) การสิ้นสุดการประมวลผลข้อมูลตัวอักษร (ETX - end of text) เป็นต้น และ อีก 95 ตัวที่แสดงผลได้ (printable character) ดังที่ปรากฏตามผังอักขระ (character map) ด้านล่าง
รหัสแอสกีได้รับการปรับปรุงล่าสุดเมื่อ ค.ศ. 1986 ให้มีอักขระทั้งหมด 256 ตัว (8 บิต) และเรียกใหม่ว่าแอสกีแบบขยาย อักขระที่เพิ่มมา 128 ตัวใช้สำหรับแสดงอักขระเพิ่มเติมในภาษาของแต่ละท้องถิ่นที่ใช้ เช่นภาษาเยอรมัน ภาษารัสเซีย ฯลฯ โดยจะมีผังอักขระที่แตกต่างกันไปในแต่ละภาษาซึ่งเรียกว่า โคดเพจ (codepage) โดยอักขระ 128 ตัวแรกส่วนใหญ่จะยังคงเหมือนกันแทบทุกโคดเพจ มีส่วนน้อยที่เปลี่ยนแค่บางอักขระ
แหล่งที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%81%E0%B%AD%0%B8%AA%E0%B8%81%E0%B8%B5 |
ยูนิโคด (อังกฤษ: Unicode) คือมาตรฐานอุตสาหกรรมที่ช่วยให้คอมพิวเตอร์แสดงผลและจัดการข้อความธรรมดาที่ใช้ในระบบการเขียนของภาษาส่วนใหญ่ในโลกได้อย่างสอดคล้องกัน ยูนิโคดประกอบด้วยรายการอักขระที่แสดงผลได้มากกว่า 100,000 ตัว พัฒนาต่อยอดมาจากมาตรฐานชุดอักขระสากล (Universal Character Set: UCS) และมีการตีพิมพ์ลงในหนังสือ The Unicode Standard เป็นแผนผังรหัสเพื่อใช้เป็นรายการอ้างอิง นอกจากนั้นยังมีการอธิบายวิธีการที่ใช้เข้ารหัสและการนำเสนอมาตรฐานของการเข้ารหัสอักขระอีกจำนวนหนึ่ง การเรียงลำดับอักษร กฎเกณฑ์ของการรวมและการแยกอักขระ รวมไปถึงลำดับการแสดงผลของอักขระสองทิศทาง (เช่นอักษรอาหรับหรืออักษรฮีบรูที่เขียนจากขวาไปซ้าย) [1]
ยูนิโคดคอนซอร์เทียม (Unicode Consortium) ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร เป็นผู้รับผิดชอบในการพัฒนายูนิโคด องค์กรนี้มีจุดมุ่งหมายเกี่ยวกับการแทนที่การเข้ารหัสอักขระที่มีอยู่ด้วยยูนิโคดและมาตรฐานรูปแบบการแปลงยูนิโคด (Unicode Transformation Format: UTF) แต่ก็เป็นที่ยุ่งยากเนื่องจากแผนการที่มีอยู่ถูกจำกัดไว้ด้วยขนาดและขอบเขต ซึ่งอาจไม่รองรับกับสภาพแวดล้อมหลายภาษาในคอมพิวเตอร์
ความสำเร็จของยูนิโคดคือการรวมรหัสอักขระหลายชนิดให้เป็นหนึ่งเดียว นำไปสู่การใช้งานอย่างกว้างขวางและมีอิทธิพลต่อการแปลภาษาของซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ นั่นคือโปรแกรมจะสามารถใช้ได้หลายภาษา มาตรฐานนี้มีการนำไปใช้เป็นเทคโนโลยีหลักหลายอย่าง อาทิ เอกซ์เอ็มแอล ภาษาจาวา ดอตเน็ตเฟรมเวิร์กและระบบปฏิบัติการสมัยใหม่
ยูนิโคดสามารถนำไปใช้งานได้ด้วยชุดอักขระแบบต่าง ๆ ชุดอักขระที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดคือ UTF-8 (ใช้ 1 ไบต์สำหรับอักขระทุกตัวในรหัสแอสกีและมีค่ารหัสเหมือนกับมาตรฐานแอสกี หรือมากกว่านั้นจนถึง 4 ไบต์สำหรับอักขระแบบอื่น) UCS-2 ซึ่งปัจจุบันเลิกใช้แล้ว (ใช้ 2 ไบต์สำหรับอักขระทุกตัว แต่ไม่ครอบคลุมอักขระทั้งหมดในยูนิโคด) และ UTF-16 (เป็นส่วนขยายจาก UCS-2 โดยใช้ 4 ไบต์สำหรับแทนรหัสอักขระที่ขาดไปของ UCS-2)
แหล่งที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A2%E0%B8%B9%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%94
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------
APIWAT KEEREERATTANARAK
A 0100 0001 K 0100 1011
P 0101 0000 E 0100 0101
I 0100 1001 E 0100 0101
W 0101 0001 R 0101 0010
A 0100 0100 E 0100 0101
T 0101 0100 E 0100 0101
R 0101 0010
A 0100 0001
T 0101 0100
T 0101 0100
A 0100 0001
N 0100 1110
A 0100 0001
R 0101 0010
A 0100 0001
K 0100 1011
มีพื้นที่จัดเก็บดังนี้ 22 ไบต์ 176 บิต
วันพฤหัสบดีที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
บิตตรวจสอบ(Parity Bit)
บิตตรวจสอบ(Parity Bit)
ถึงแม้เลขฐานสองที่ใช้ในคอมพิวเตอร์มีอัตราความผิดผลาดต่ำ เพราะมีความเป็นไปได้เพียง 0 หรือ 1 เท่านั้นแต่ก็อาจเกิดข้อบกพร่องขึ้นได้ภายในหน่วยความจำดังนั้น บิตตรวจสอบหรือ Parity Bit จึงเป็นบิตที่เพิ่มเติมเข้ามาต่อท้ายอีก 1 บิต ซึ่่งถือเป็นบิตพิเศษที่ใช้สำหรับการตรวจสอบที่แม่นยำและความถูกต้องของข้อมูล ที่จะถูกเก็บลงในคอมพิวเตอร์
สำหรับบิตที่ตรวจสอบจะมีวิธีการตรวจสอบอยู่ด้วยกัน 2 วิธีด้วยกันคือ
1.การตรวจสอบบิตภาวะคู่ (Even Parity)
-จะมีค่าเป็น 1 เมื่อจำนวนของเลข 1 ในข้อมูลเป็นจำนวนคี่ (ซึ่งจะทำให้จำนวนเลข 1 ทั้งหมดเป็นจำนวนคู่ เมื่อรวมกับบิตนี้)
2.การตรวจสอบบิตภาวะคี่ (Odd Parity)
- จะมีค่าเป็น 1 เมื่อจำนวนของเลข 1 ในข้อมูลเป็นจำนวนคู่ (ซึ่งจะทำให้จำนวนเลข 1 ทั้งหมดเป็นจำนวนคี่ เมื่อรวมกับบิตนี้)
ถ้าพิจารณาถึงจำนวน 256 สัญลักษณ์ที่ใช้ในรหัส ASCII และ EBCDIC นั้นก็ดูพอเพียงต่อการใช้งานภาษาอังกฤษ และ ภาษาใดๆ อีกภาษาหนึงแต่ในกรณีที่ต้องการใช้แทนอักษรของชาติอื่นๆทั่วโลกก็คงไม่พอเพียงต่อการใช้งาน ดังนั้น รหัส Unicode ชึ่งมีขนาด 16 บิตนี้จึงเป็นทางเลือกเพื่อใช้แทนค่าข้อมูล ชึ่งสามารถแทนค่าข้อมูลได้มากถึง 65,536 สัญลักษณ์
ถึงแม้เลขฐานสองที่ใช้ในคอมพิวเตอร์มีอัตราความผิดผลาดต่ำ เพราะมีความเป็นไปได้เพียง 0 หรือ 1 เท่านั้นแต่ก็อาจเกิดข้อบกพร่องขึ้นได้ภายในหน่วยความจำดังนั้น บิตตรวจสอบหรือ Parity Bit จึงเป็นบิตที่เพิ่มเติมเข้ามาต่อท้ายอีก 1 บิต ซึ่่งถือเป็นบิตพิเศษที่ใช้สำหรับการตรวจสอบที่แม่นยำและความถูกต้องของข้อมูล ที่จะถูกเก็บลงในคอมพิวเตอร์
สำหรับบิตที่ตรวจสอบจะมีวิธีการตรวจสอบอยู่ด้วยกัน 2 วิธีด้วยกันคือ
1.การตรวจสอบบิตภาวะคู่ (Even Parity)
-จะมีค่าเป็น 1 เมื่อจำนวนของเลข 1 ในข้อมูลเป็นจำนวนคี่ (ซึ่งจะทำให้จำนวนเลข 1 ทั้งหมดเป็นจำนวนคู่ เมื่อรวมกับบิตนี้)
2.การตรวจสอบบิตภาวะคี่ (Odd Parity)
- จะมีค่าเป็น 1 เมื่อจำนวนของเลข 1 ในข้อมูลเป็นจำนวนคู่ (ซึ่งจะทำให้จำนวนเลข 1 ทั้งหมดเป็นจำนวนคี่ เมื่อรวมกับบิตนี้)
ถ้าพิจารณาถึงจำนวน 256 สัญลักษณ์ที่ใช้ในรหัส ASCII และ EBCDIC นั้นก็ดูพอเพียงต่อการใช้งานภาษาอังกฤษ และ ภาษาใดๆ อีกภาษาหนึงแต่ในกรณีที่ต้องการใช้แทนอักษรของชาติอื่นๆทั่วโลกก็คงไม่พอเพียงต่อการใช้งาน ดังนั้น รหัส Unicode ชึ่งมีขนาด 16 บิตนี้จึงเป็นทางเลือกเพื่อใช้แทนค่าข้อมูล ชึ่งสามารถแทนค่าข้อมูลได้มากถึง 65,536 สัญลักษณ์
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)